วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ประจำวิชา อาจารย์จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 23 กันยายน 2557

กลุ่มเรียน 102


The knowledge gained


  สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากที่อาจารย์สอนโดย สื่อ Power point ดังนี้ค่ะ






  สำหรับวันนี้ ได้ความรู้จากที่เพื่อนๆ นำสนอบทความดังนี้ค่ะ


  


    กิจกรรมนี้เด็กได้แสดงความรู้สึกด้วยคำพูด เล่าประสบการณ์ของตัวเองให้ผู้อื่นฟัง สำรวจและอธิบายความเหมือนและความแตกต่างของไก่และเป็ด การเปรียบเทียบรูปร่าง ลักษณะ และขนาดของไก่และเป็ด จุดเด่นของกิจกรรมนี้ คือ ผู้ปกครองหรือชุมชนท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม ผลที่เกิดกับเด็ก คือ เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสหลายๆ ด้าน ได้รับประสบการณ์ตรง ส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ชื่นชมผลงานของผู้อื่น มีความรักและเมตตาต่อไก่และเป็ด ได้เรียนรู้ร่วมกันกับเพื่อน รอคอย แบ่งปัน มีน้ำใจต่อกัน”


2.บทความเรื่อง..

   การส่งเสริมพัฒนาการของ เด็กปฐมวัยในด้านวิทยาศาสตร์นั้น อาจไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ และอาจไม่ต้องกล่าวคำว่าวิทยาศาสตร์เมื่อให้เด็กทำกิจกรรมเลยด้วยซ้ำ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วง เวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียน รู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ
    1. ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง เช่น คำถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว หรือโลกของเรา
    2. ออกไปหาคำตอบด้วยกัน เนื่องจากคำถามในระดับเด็กอนุบาลมักจะเปิดกว้าง ดังนั้นการค้นหาคำตอบอาจมีครูคอยช่วยจัดประสบการณ์ให้เด็กตามที่เขาตั้งขึ้น
    3. เมื่อขั้นสองสำเร็จ เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามของเขาเอง ในขั้นนี้คุณครูอาจช่วยเสริมในแง่ของความครบถ้วนสมบูรณ์ หรือในด้านของเหตุและผล
    4. นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อน ๆ



3. บทความเรื่อง การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย 

    หลักการและความสำคัญ    วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอดชีวิตของทุกคนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น  การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและ มีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและ เทคโนโลยีที่มนุษย์ขึ้น รวมถึงการนำความรู้ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล มีคุณธรรม นอกจากนี้ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ ประโยชน์ การดูแลรักษาตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและ ยั่งยืน 



4. บทความเรื่อง โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร?






    เด็กปฐมวัยไขคำตอบในวันวิทยาศาสตร์น้อย 2556       กิจกรรมนี้จะทำให้เด็กปฐมวัยตระหนักว่าพวกเขาสามารถหาความรู้ได้จากสิ่งแวดล้อม ตัวของพวกเขามีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมและร่วมสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่พวกเขาใช้ชีวิตอยู่ได้ สำหรับกิจกรรมที่จัดที่นี้ มี 6 กิจกรรม ประกอบด้วย กิจกรรมหวานเย็นชื่นใจ ความลับของดิน ถึงร้อนก็อร่อยได้ มหัศจรรย์กังหันลม ว่าวเล่นลม โมบายเริงลม กิจกรรมที่เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ทั้งหมดเน้นการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว เพื่อเริ่มต้นทำความเข้าใจเกี่ยวกับโลกเรา อาศัยกิจกรรมที่นำไปสู่การค้นพบคำตอบเกี่ยวกับดิน น้ำ อากาศ และไฟ จากการทดลองค้นคว้าง่ายๆ ตามศักยภาพของเด็ก โดยกระตุ้นการเรียนรู้จากการตั้งคำถามและร่วมกันค้นหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน


    จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาทำกิจกรรม คือ ลูกยาง โดยอุปกรณ์คือ
- กระดาษ
- กรรไกร
- คริปหนีบกระดาษ
 ขั้นตอนวิธีการทำง่ายๆ ดังนี้


1.ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
2.พับครึ่งกระดาษ
4.แยกส่วนกระดาษที่ตัด ออกจากกัน
3.ตัดแยกกระดาษ เป็นสองส่วน



5. นำคริปหนีบกระกระดาษ มาหนีบไว้
ตรงส่วนครึ่งกระดาษที่เหลือไว้


  ซึ่งกิจกรรมนี้ได้รับความรู้เป็นอย่างมาก อีกทั้งได้ความสนุกสนาน ได้ทดลองโยนลูกยางและเห็นข้อเปรียบเทียบ เพราะลูกยางของเพื่อนๆบางคนเมื่อโยนแล้วก็จะไม่หมุนบ้าง หรือเพื่อนบางคน อาจจะยังไม่รู้วิธีการโยนโดยให้ลูกยางหมุนลงมา ซึ่งสามารถนำกลับไปแก้ไขปรับปรุงในครั้งต่อไปได้  และกิจกรรมนี้หากนำไปใช้กับเด็กๆ เขาก็จะได้สร้างผลงานของตนเอง ซึ่งสามารถนำไปเชื่อมโยงกับทฎษฏี  Constructivism คือ ให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ด้วยตนเอง อีกด้วย


ต่อมาอจารย์ก็ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่ม นำ Mind Map ที่นำมาวันนี้ นำไปติด ไว้หน้าห้อง ซึ่งกลุ่มของดิฉันเองนั้น ก็ได้เลือกทำเกี่ยวกับ ผีเสื้อ ( butterfly ) ค่ะ



 และก็ผลงานของเพื่อนๆ ทุกกลุ่ม ดังนี้ค่ะ











การนำไปใช้ (Application)
  
    สำหรับความรู้ที่ได้รับวันนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับการสอนเด็กปฐมวัย คือ กิจกรรมลูกยางเป็นกิจกรรม ที่ง่ายเด็กสามารถประดิษฐ์ได้ด้วยตนเอง ซึ่งเหมาะสมเป็นอย่างมาก อีกทั้งได้ความสนุกสนาน ได้ร่วมเล่นกับเพื่อนๆแล้ว ที่สำคัญยังเชื่อมโยงกิจกรรมนี้เข้ากับวิทยาศาสตร์ได้อย่างดี ซึ่งเด็กๆจะได้ทักษะเหล่านี้อีกด้วย

การประเมินผล ( Evaluation )

         ประเมินตนเอง (Self) = เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย และสนใจในการทำกิจกรรมต่างๆ ที่อาจารย์นำมาให้ทำ มีการแสดงความคิดเห็น และรับฟังข้อแนะนำ วิธีการต่างๆ ทั้งจากอาจารย์ และเพื่อนๆ ค่ะ


          ประเมินเพื่อน (Friend) = เพื่อนสนใจทำกิจกรรมดีมาก ตั้งใจฟังเพื่อนๆอ่านบทความและร่วมแสดงความคิดเห็นต่างๆ ภายในห้องเรียนค่ะ

          ประเมินครูผู้สอน (Teacher) = อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจมาก ทำให้ได้ทดลอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากเลย ถึงแม้ว่าอาจจะเป็นแค่สิ่งของชิ้นเล็ก แต่เมื่อนำมาทดลองประดิษฐ์ของเล่นแล้ว ทำให้เกิดความสนุกสนาน เกิดเสียงหัวเราะและตื่นเต้น ว่ามันเป็นไปได้อย่างไร... อาจารย์เชื่อมโยงเข้ากับวิทยาศาสตร์ได้ดี ทำให้นักศึกษาเข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้นค่ะ


สรุป ความลับของแสง


The Secret of Light


บันทึกอนุทินครั้งที่ 5


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ประจำวิชา อาจารย์จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 16 กันยายน 2557

กลุ่มเรียน 102


The knowledge gained

  สำหรับวันนี้ อย่างแรกก่อนที่อาจารย์จะเข้าสู่เนื้อหาของบทเรียน คืออาจารย์ได้เปิด      
 เพลงวิทยาศาตร์ ให้นักศึกษาได้ฟัง เพื่อให้ช่วยกันระดมความคิดวิเคราะห์เนื้อหาของเพลงว่าวิทยาศาตร์เป็นอย่างไรบ้าง มีความสำคัญอย่างไร และจากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาแต่ละคนคิดเพลงเกี่ยวกับเด็กปฐมวัย โดยมีข้อแม้ว่าห้ามซ้ำกัน และดิฉันก็ได้บอกชื่อเพลง โดยมีชื่อว่า"ผึ้งน้อย Bee" ซึ่งบรรยากาศภายในห้องเรียนFunnyเป็นอย่างมาก เพราะได้รู้ชื่อเพลงของเพื่อนแต่ละคนอีกด้วย!!
   ต่อมาเพื่อน เลขที่1 ได้นำเสนอบทความ เรื่องหลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย จำเป็นหรือไม่

  หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย เป็นการส่งเสริมครูปฐมวัยให้สามารถจัดประสบการณ์ในรูปของกิจกรรมบูรณาการที่สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้อย่างครบถ้วนทุกด้าน โดยไม่จำเป็นต้อง แยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์  เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วงเวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ 


เพื่อนคนที่ 2 นำเสนอบทความ เรื่องสอนลูกเรื่องพืช Plants


 พืช อยู่ในสาระที่ควรรู้เกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 การจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กเรียนรู้เรื่องพืช นอกจากเด็กจะมีความรู้เกี่ยวกับชนิดของพืชต่างๆแล้ว ยังสามารถจัดกิจกรรมโดยใช้พืชเป็นสื่อเพื่อส่ง เสริมพัฒนาการให้กับเด็กปฐมวัยได้พัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา รวมทั้งพัฒนาพฤติกรรมที่พึงประสงค์ทางด้านต่างๆ ผ่านการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมในระดับปฐมวัย

  ต่อมาอาจารย์ก็ให้นักศึกษาทำกิจกรรม และมีวิธีขั้นตอนดังนี้

Equipment

1.กระดาษสีชมพู
2.เทปกาว
3.กรรไกร
4.สีเมจิก
5.ไม้เสียบลูกชิ้น

Procedures

1.อาจารย์แจกกระดาษสีชมพูมาให้ แล้วให้นักศึกษาพับครึ่ง
2.ต่อมาอาจารย์ให้วาดภาพจาน ไว้ตรงกลางของหน้าแรก
3.แล้ววาดผลไม้อะไรก็ได้ตรงกลางหน้าสุดท้ายของกระดาษ
4.ตกแต่งระบายสีให้สวยงาม
5.นำไม้เสียบลูกชิ้น มาวางตรงกลางหน้าที่3 ของกระดาษโดยนำเทปกาวมาติดให้แน่น และติดกระดาษทั้ง2ด้านให้ติดกันเพื่อเวลาหมุนจะเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น



























Application

จากกิจกรรมในวันนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้จริงๆ ทำให้ได้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาตร์ แรงการหมุนเพื่อเห็นภาพได้ชัดเจนว่าผลไม้วางอยู่ในจาน และจำนำเทคนิคการสอนของอาจารย์ไปปรับใช้เมื่อมีการนำเสนองานต่างๆ พัฒนาให้ดียิ่งขึ้นค่ะ!!

assessment

Self : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังที่เพื่อนๆนำเสนอบทความ และทำกิจกรรมที่อาจารย์สอนได้อย่างเต็มที่ จดบันทึกที่อาจารย์สอนเกี่ยวกับเนื้อหาต่างๆเพื่อนำมาสรุปลง BLOG 

Friends : เพื่อนนำเสนอบทความได้ดี เข้าใจง่าย และร่วมกันตอบคำถามเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กันภายในชั้นเรียน ตั้งใจทำกิจกรรมกันทุกคน

teachers : อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ โดยก่อนเริ่มเข้าสู่เนื้อหาก็จะนำเพลงมาให้นักศึกษาฟังก่อน และมีการให้คำเสนอแนะเกี่ยวกับบทความที่เพื่อนนำมาเสนอ เพื่อให้มีความเข้าใจเพิ่มมากยิ่งขึ้น และที่ดิฉันชอบที่สุดคือ กิจกรรมที่อาจารย์นำมาให้นักศึกษาได้ลองทำซึ่งมีประโยชน์อย่างมาก สามารถนำไปเป็นสื่อประดิษฐ์ได้ในอนาคต




สรุปบทความ


สอนลูกเรื่องกลางวัน-กลางคืน (Teaching Children about Day and Night)

ผู้เขียน : ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุปผา เรืองรอง

อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ระดับ : อนุบาล
หมวด : เกี่ยวกับอนุบาล




    การสอนลูกเรื่องกลางวัน กลางคืน (Teaching Children about Day and Night) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ และเห็นถึงสภาพธรรมชาติที่มีกลางวันซึ่งเป็นระยะเวลาตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำค่ำ หรือตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนพระอาทิตย์ตก และกลางคืนซึ่งหมายถึงระยะเวลาตั้งแต่ย่ำค่ำถึงย่ำรุ่ง หรือตั้งแต่พระอาทิตย์ตกจนพระอาทิตย์ขึ้น สลับเปลี่ยนหมุนเวียนไปทุกวันๆเรื่องราวเหล่านี้อยู่ในชีวิต ประจำวันของคนเราทุกคน สภาพกลางวันกลางคืนเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นทุกวัน และส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของคน พืช สัตว์ จึงเป็นเรื่องใกล้ตัวเด็กที่เด็กๆควรเรียนรู้  หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช2546จึงกำหนดไว้ในโครงสร้างของหลักสูตร ให้เด็กปฐมวัยได้เรียนสาระเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตัวเด็ก ซึ่งเรื่องกลางวัน กลางคืน เป็นเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวกับธรรมชาติดังที่กล่าวมา ที่ควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัย

  การสอนเรื่องกลางวัน กลางคืนสำคัญอย่างไร?

การกำหนดให้เด็กเรียนรู้เรื่องกลางวัน กลางคืน เป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งดังนี้

1. เป็นวิทยาศาสตร์ คือเป็นความรู้ที่ได้จากการสังเกต และค้นคว้าเชิงประจักษ์ กลางวัน กลางคืนเป็นเรื่องราวเกี่ยว กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก
2. เป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก สิ่งต่างๆที่มีชีวิต คือ คน พืช สัตว์ ล้วนมีวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับกลางวัน กลางคืนทั้งสิ้น
3. เป็นการสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าของธรรมชาติ เป็นสิ่งจำเป็นที่ควรปลูกฝังให้เด็ก เพื่อการนำไปใช้และรักษาธรรมชาติ
4. เรื่องราวของธรรมชาติรอบตัวเป็นของการเกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล จึงสามารถนำไปสร้างนิสัยความสงสัยใคร่รู้ให้แก่เด็กได้เป็นอย่างดี

  การสอนเรื่องกลางวัน กลางคืนมีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร?

  การเรียนรู้เรื่องกลางวัน กลางคืน จะเป็นการตอบสนองธรรมชาติของเด็กปฐมวัย ที่สนใจใคร่รู้เรื่องราวธรรมชาติและสิ่งต่างๆรอบตัว เราจะสังเกตเห็นว่าเด็กจะร่าเริงเบิกบาน เมื่อเขาวิ่งเล่นกลางแสงแดดอุ่นๆ ฟังเสียงนกร้อง และเล่นทำเสียงเลียนแบบได้เด็กจะพอใจที่ได้เห็นสรรพสิ่งทั้งหลาย และได้สัมผัสสิ่งเหล่านั้น จึงเป็นโอกาสทองที่ผู้ใหญ่จะสนับสนุนให้เด็กเรียนรู้ธรรมชาติอย่างมีความสุข และสนุกที่จะค้นคว้าต่อไปซึ่็งจะเกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ คือการมีเจตคติที่ดีทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การเป็นคนช่างสังเกตสภาพธรรม ชาติของกลางวันกลางคืน รู้เหตุและผลของสิ่งที่เกี่ยวกับกลางวัน กลางคืน

  ครูสอนเรื่องกลางวัน กลางคืนให้ลูกที่โรงเรียนอย่างไร?

1.กิจกรรมสร้างสรรค์ ครูอาจให้เด็กระบายสีภาพเหตุการณ์ กลางวัน กลางคืน เช่น ภาพดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวง ดาว ท้องฟ้ายามกลางวัน หรือภาพเหตุการณ์กลางคืน ภาพนกฮูก ค้างคาว

2.กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ครูอาจกำหนดสาระสำคัญเรื่องกลางวัน กลางคืน เช่น คนเราทำงานในเวลากลางวัน กลางคืน แตกต่างตามลักษณะเวลาและสภาพที่ปรากฏ

3.กิจกรรมเสรี ครูอาจจัดมุมวิทยาศาสตร์ให้เด็กได้ทดลองเรื่องกลางวันกลางคืน เช่น ทดลองเรื่องการเกิดเงาหรือเชิดหุ่นเงา

4.กิจกรรมกลางแจ้ง ให้เด็กๆได้วิ่งเล่นที่สนาม เห็นแสงแดดและสิ่งต่างๆรอบตัว เล่นเกมวิ่งเล่นจับเงา วิ่งเหยียบเงาของเพื่อน

5.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เมื่อครูให้สัญญาณจากเครื่องดนตรี เด็กจะเคลื่อนไหวพื้นฐาน แล้วเคลื่อนไหวแสดงท่าทางประกอบคำบรรยายเรื่อง กลางวัน กลางคืน

6.เกมการศึกษา เล่นจับกลุ่มภาพกับเหตุการณ์

 พ่อแม่ ผู้ปกครองจะสอนลูกเรื่องกลางวัน กลางคืนอย่างไร? 

พ่อแม่ ผู้ปกครองจะสอนลูกเรื่องกลางวัน กลางคืน ที่บ้านได้คือสนทนาพูดคุยกับลูก ใช้คำว่า กลางวัน กลางคืน เช้า สาย บ่าย เย็น มืดค่ำ รุ่งเช้า สอดคล้องกับสภาพธรรมชาติขณะนั้นเพื่อให้ลูกเข้าใจภาษ การเล่นพูดที่สนุกสนาน และทำท่าทางอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง เป็นการฝึกสมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวาให้ทำงานอย่างสมดุล

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ประจำวิชา อาจารย์จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 9 กันยายน 2557

กลุ่มเรียน 102









การนำไปประยุกต์ใช้

  สำหรับการเรียนวันนี้ได้ความรู้เป็นอย่างมาก เกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดความเหมาะสมแก่การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย เพราะคุณครูต้องมีความรู้รอบด้านเพื่อที่จะพัฒนาเด็กให้มีศักยภาพสูง นอกจากนั้นยังนำไปเชื่อมโยงกับวิชาอื่นๆได้อีกด้วยโดยเฉพาะนักทฤษฎี เพราะแต่ละวิชานักศึกษาต้องรู้ว่าพัฒนาการแต่ละด้านเป็นของนักทฤษฎีท่านใด

การประเมิน

ตนเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม และช่วยระดมความคิดในการตอบคำถาม แต่งกายเรียบร้อยถูกกฎระเบียบ

เพื่อน : เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา จดบันทึกที่อาจารย์บรรยายและข้อเสนอแนะต่างๆ และร่วมกันตอบคำถามในชั้นเรียน

อาจารย์ : อาจารย์สอนเข้าใจง่าย และเน้นการใช้คำถามปลายเปิดกับนักศึกษา ให้ข้อเสนอแนะต่างๆเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน มีเทคนิคการสอนที่แปลกใหม่โดยนำกิจกรรมมาให้นักศึกษาได้ลองทำ และสังเกตุว่าเป็นอย่างไรบ้าง



วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ประจำวิชา อาจารย์จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 2 กันยายน 2557

กลุ่มเรียน 102




สำหรับวันนี้ ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากได้เข้าร่วมกิจกรรมของคณะศึกษาศาสตร์ " โครงการ ศึกษาศาสตร์วิชาการ Thinking  Faculty " ณ อาคารพลศึกษา (สนามกีฬาในร่ม)
ซึ่งภายในงานก็มีซุ้ม ของแต่ละสาขาวิชา นำความรู้เกี่ยวกับวิชาการด้านต่างๆมาเผยแพร่ให้นักศึกษาได้รู้ รวมทั้งมีกิจกรรมสนุกสนานอีกด้วยค่ะ!!












บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ประจำวิชา อาจารย์จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 26 สิงหาคม 2557


กลุ่มเรียน 102







วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ประจำวิชา  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ

 วันที่ 19 สิงหาคม 2557

กลุ่มเรียน 102




   สำหรับวันนี้ เป็นวันเปิดเทอมวันแรก จึงยังไม่มีการเรียนการสอน อาจารย์จึงแจก Course Syllabus เพื่ออธิบาย และตกลงกับนักศึกษา เกี่ยวกับกับเนื้อหาที่จะเรียน ของรายวิชานี้ แล้วก็อธิบายเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ว่ามีความสำคัญกับเด็กอย่างไรบ้าง วิทยาศาตร์ คืออะไร เป็นต้น