วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ประจำวิชา อาจารย์จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 23 กันยายน 2557

กลุ่มเรียน 102


The knowledge gained


  สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากที่อาจารย์สอนโดย สื่อ Power point ดังนี้ค่ะ






  สำหรับวันนี้ ได้ความรู้จากที่เพื่อนๆ นำสนอบทความดังนี้ค่ะ


  


    กิจกรรมนี้เด็กได้แสดงความรู้สึกด้วยคำพูด เล่าประสบการณ์ของตัวเองให้ผู้อื่นฟัง สำรวจและอธิบายความเหมือนและความแตกต่างของไก่และเป็ด การเปรียบเทียบรูปร่าง ลักษณะ และขนาดของไก่และเป็ด จุดเด่นของกิจกรรมนี้ คือ ผู้ปกครองหรือชุมชนท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม ผลที่เกิดกับเด็ก คือ เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสหลายๆ ด้าน ได้รับประสบการณ์ตรง ส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ชื่นชมผลงานของผู้อื่น มีความรักและเมตตาต่อไก่และเป็ด ได้เรียนรู้ร่วมกันกับเพื่อน รอคอย แบ่งปัน มีน้ำใจต่อกัน”


2.บทความเรื่อง..

   การส่งเสริมพัฒนาการของ เด็กปฐมวัยในด้านวิทยาศาสตร์นั้น อาจไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ และอาจไม่ต้องกล่าวคำว่าวิทยาศาสตร์เมื่อให้เด็กทำกิจกรรมเลยด้วยซ้ำ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วง เวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียน รู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ
    1. ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง เช่น คำถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว หรือโลกของเรา
    2. ออกไปหาคำตอบด้วยกัน เนื่องจากคำถามในระดับเด็กอนุบาลมักจะเปิดกว้าง ดังนั้นการค้นหาคำตอบอาจมีครูคอยช่วยจัดประสบการณ์ให้เด็กตามที่เขาตั้งขึ้น
    3. เมื่อขั้นสองสำเร็จ เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามของเขาเอง ในขั้นนี้คุณครูอาจช่วยเสริมในแง่ของความครบถ้วนสมบูรณ์ หรือในด้านของเหตุและผล
    4. นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อน ๆ



3. บทความเรื่อง การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย 

    หลักการและความสำคัญ    วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอดชีวิตของทุกคนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น  การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและ มีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและ เทคโนโลยีที่มนุษย์ขึ้น รวมถึงการนำความรู้ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล มีคุณธรรม นอกจากนี้ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ ประโยชน์ การดูแลรักษาตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและ ยั่งยืน 



4. บทความเรื่อง โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร?






    เด็กปฐมวัยไขคำตอบในวันวิทยาศาสตร์น้อย 2556       กิจกรรมนี้จะทำให้เด็กปฐมวัยตระหนักว่าพวกเขาสามารถหาความรู้ได้จากสิ่งแวดล้อม ตัวของพวกเขามีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมและร่วมสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่พวกเขาใช้ชีวิตอยู่ได้ สำหรับกิจกรรมที่จัดที่นี้ มี 6 กิจกรรม ประกอบด้วย กิจกรรมหวานเย็นชื่นใจ ความลับของดิน ถึงร้อนก็อร่อยได้ มหัศจรรย์กังหันลม ว่าวเล่นลม โมบายเริงลม กิจกรรมที่เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ทั้งหมดเน้นการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว เพื่อเริ่มต้นทำความเข้าใจเกี่ยวกับโลกเรา อาศัยกิจกรรมที่นำไปสู่การค้นพบคำตอบเกี่ยวกับดิน น้ำ อากาศ และไฟ จากการทดลองค้นคว้าง่ายๆ ตามศักยภาพของเด็ก โดยกระตุ้นการเรียนรู้จากการตั้งคำถามและร่วมกันค้นหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน


    จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาทำกิจกรรม คือ ลูกยาง โดยอุปกรณ์คือ
- กระดาษ
- กรรไกร
- คริปหนีบกระดาษ
 ขั้นตอนวิธีการทำง่ายๆ ดังนี้


1.ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
2.พับครึ่งกระดาษ
4.แยกส่วนกระดาษที่ตัด ออกจากกัน
3.ตัดแยกกระดาษ เป็นสองส่วน



5. นำคริปหนีบกระกระดาษ มาหนีบไว้
ตรงส่วนครึ่งกระดาษที่เหลือไว้


  ซึ่งกิจกรรมนี้ได้รับความรู้เป็นอย่างมาก อีกทั้งได้ความสนุกสนาน ได้ทดลองโยนลูกยางและเห็นข้อเปรียบเทียบ เพราะลูกยางของเพื่อนๆบางคนเมื่อโยนแล้วก็จะไม่หมุนบ้าง หรือเพื่อนบางคน อาจจะยังไม่รู้วิธีการโยนโดยให้ลูกยางหมุนลงมา ซึ่งสามารถนำกลับไปแก้ไขปรับปรุงในครั้งต่อไปได้  และกิจกรรมนี้หากนำไปใช้กับเด็กๆ เขาก็จะได้สร้างผลงานของตนเอง ซึ่งสามารถนำไปเชื่อมโยงกับทฎษฏี  Constructivism คือ ให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ด้วยตนเอง อีกด้วย


ต่อมาอจารย์ก็ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่ม นำ Mind Map ที่นำมาวันนี้ นำไปติด ไว้หน้าห้อง ซึ่งกลุ่มของดิฉันเองนั้น ก็ได้เลือกทำเกี่ยวกับ ผีเสื้อ ( butterfly ) ค่ะ



 และก็ผลงานของเพื่อนๆ ทุกกลุ่ม ดังนี้ค่ะ











การนำไปใช้ (Application)
  
    สำหรับความรู้ที่ได้รับวันนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับการสอนเด็กปฐมวัย คือ กิจกรรมลูกยางเป็นกิจกรรม ที่ง่ายเด็กสามารถประดิษฐ์ได้ด้วยตนเอง ซึ่งเหมาะสมเป็นอย่างมาก อีกทั้งได้ความสนุกสนาน ได้ร่วมเล่นกับเพื่อนๆแล้ว ที่สำคัญยังเชื่อมโยงกิจกรรมนี้เข้ากับวิทยาศาสตร์ได้อย่างดี ซึ่งเด็กๆจะได้ทักษะเหล่านี้อีกด้วย

การประเมินผล ( Evaluation )

         ประเมินตนเอง (Self) = เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย และสนใจในการทำกิจกรรมต่างๆ ที่อาจารย์นำมาให้ทำ มีการแสดงความคิดเห็น และรับฟังข้อแนะนำ วิธีการต่างๆ ทั้งจากอาจารย์ และเพื่อนๆ ค่ะ


          ประเมินเพื่อน (Friend) = เพื่อนสนใจทำกิจกรรมดีมาก ตั้งใจฟังเพื่อนๆอ่านบทความและร่วมแสดงความคิดเห็นต่างๆ ภายในห้องเรียนค่ะ

          ประเมินครูผู้สอน (Teacher) = อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจมาก ทำให้ได้ทดลอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากเลย ถึงแม้ว่าอาจจะเป็นแค่สิ่งของชิ้นเล็ก แต่เมื่อนำมาทดลองประดิษฐ์ของเล่นแล้ว ทำให้เกิดความสนุกสนาน เกิดเสียงหัวเราะและตื่นเต้น ว่ามันเป็นไปได้อย่างไร... อาจารย์เชื่อมโยงเข้ากับวิทยาศาสตร์ได้ดี ทำให้นักศึกษาเข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้นค่ะ


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น