วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ประจำวิชา อาจารย์จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 2 ธันวาคม 2557

กลุ่มเรียน 102



ความรู้ที่ได้รับ (The knowledge gained)

สำหรับวันนี้เป็นการนำเสนอ วิจัย(Research)และ โทรทัศน์ครู(Teachers TV) ตอจากสัปดาห์ที่แล้ว ได้แก่...

วิจัย(Research)
-การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
-ผลการจัดประสบการที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
-ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบ-โครงงานกับแบบสืบเสาะหาความรู้
-ทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
โทรทัศน์ครู(Teachers TV)
-สร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส
-วิทยาศาสตร์สนุก
-เสียงและการได้ยิน
-ผงวิเศษช่วยชีวิต









   จากนั้น เมื่อเพื่อนนำเสนอครบหมดทุกคน อาจารย์จึงให้นักศึกษานั่งเป็นกลุ่มเพื่อที่จะให้ช่วยกันระดมความคิด และวางแผนเกี่ยวกับแผ่นพับ เรื่องสายสัมพันธ์ผู้ปกครองและนักเรียน โดยนักศึกษาเลือกแผ่นที่ดีที่สุดส่งอาจารย์ ซึ่งกลุ่มของดิฉันเลือกทำ" หน่วยผีเสื้อ "







การนำไปใช้ (Application)

   สำหรับความรู้ที่ได้รับวันนี้ สามารถนำความรู้จากที่พื่อนๆนำเสนอมาปรับประยุกต์และวิธีการนำเสนอให้ดียิ่งขึ้น และเนื้อหาของเพื่อนๆน่าสนใจอย่างย่ิง สามารถนำมาเชื่อมโยงกับวิชาวิทยาศาสตร์ที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย เพราะกิจกรรมบางเรื่องมีการทดลองที่ง่าย นำมาสอนเด็กได้และเขาก็สามารถลงมือปฏิบัติได้จริง 
   การทำแผ่นพับได้ความรู้อย่างมาก เพราะทำให้ได้รู้วิธีการเขียน วิธีเลือกหัวข้อต่างๆซึ่งสามารถนำไปใช้ได้จริงในอนาคต

การประเมินผล ( Evaluation )

 ประเมินตนเอง (Self) = สนใจที่เพื่อนๆนำเสนอ และร่วมทำกิจกรรมในห้องเรียน มีส่วนร่วนในกิจกรรม แต่งกายเรียบร้อย

ประเมินเพื่อน (Friend) = เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา และตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนอ และร่วมแสดงความคิดเห็นและซักถาม เรื่องที่ไม่เข้าใจ มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี


ประเมินครูผู้สอน (Teacher)= อาจารย์แนะนำเกี่ยวกับงานวิจัย และโทรทัศน์ครูอย่างละเอียด และช่วยแนะนำการทำแผ่นพับให้นักศึกษาได้ความรู้เพิ่มเติมมากยิ่งขึ้น


วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ประจำวิชา อาจารย์จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2557

กลุ่มเรียน 102


ความรู้ที่ได้รับ (The knowledge gained)



สำหรับวันนี้เป็นการนำเสนอวิจัย(Research)และโทรทัศน์ครู(Teachers TV)  ได้แก่...



1. เรื่อง การกำเนิดของเสียง
โดย นางสาวธิดามาศ  ศรีปาน




2. เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง
สีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
โดย นางสาววรรณนิศา  นวลสุข




3. เรื่อง การปรุงอาหาร
โดย นางสาวพัชราภรณ์  พระนาค




4. เรื่อง สังเกตการเจริญเติบโตของพรรณพืชการทดลอง
โดยใช้กระแสไฟฟ้าทำกับน้ำเกิดOxygen ช่วยในการเจริญเติบโตของพืช
โดย นางสาวสุนิสา  สะแลแม





5. เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมเรื่องแสงที่มัต่อทักษะการแสวงหาความรู้
โดย นางสาวศิริวิมล  หมั่นสนธิ์





ต่อมาเป็นการทำกิจกรรมในห้องเรียน  วาฟเฟิล (Waffle)

อุปกรณ์

1.แป้ง(Powder)
2.เนย(Better)
3.ไข่ไก่ (Egg)
4.น้ำเปล่า(Water)







ขั้นตอนการทำ

 1.เทแป้งลงในภาชนะที่เตรียมไว้
2.นำไข่ใส่ลงไปตามด้วยเนยจืดคนให้เข้ากัน
3.เติมน้ำเพื่อไม่ให้แป้งข้นจนเกินไป
4.คนจนแป้งเข้าที่เป็นเนื้อเดียวกัน
5.แบ่งแป้งใส่ถ้วยที่เตรียมไว้
6.นำเนยทาที่แม่พิมพ์ที่เตรียมไว้เพื่อไม่ให้แป้งติดแม่พิมพ์
7.นำแป้งที่แบ่งไว้ในถ้วยเทลงในแม่พิมพ์ที่เตรียมไว้
8.รอจนแป้งสุก ก็นำออกมาทานได้เลย






วาฟเฟิลร้อนๆสักชิ้นมั๊ยคะ






การนำไปใช้ (Application)

   สำหรับความรู้ที่ได้รับวันนี้ สามารถนำความรู้จากที่พื่อนๆนำเสนอมาปรับประยุกต์และวิธีการนำเสนอให้ดียิ่งขึ้น และเนื้อหาของเพื่อนๆน่าสนใจอย่างย่ิง สามารถนำมาเชื่อมโยงกับวิชาวิทยาศาสตร์ที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย เพราะกิจกรรมบางเรื่องมีการทดลองที่ง่าย นำมาสอนเด็กได้และเขาก็สามารถลงมือปฏิบัติได้จริง 
   การทำวาฟเฟิล ได้ความรู้อย่างมาก เพราะดิฉันได้ลงมือทำเป็นครั้งแรก ได้รู้ถึงส่วนประกอบ วิธีการทำ ความรู้ที่ได้ในวันนี้สามารถนำไปสอนเด็กในเรื่องการประกอบอาหาร ซึ่งทำให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยววิทยาศาสตร์ เด็กได้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ คือ ได้สังเกต ได้ลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งสามารถมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมนี้ด้วย นอกจากนี้เด็กยังได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ได้มองเห็นวัตถุดิบต่างๆที่ครูเตรียมให้ ได้ได้ชิมรสชาติ ได้ดมกลิ่น ได้ฟังที่ครูบอกถึงขั้นตอนต่างๆ และได้สัมผัสกับวัตถุดิบ เช่น แป้ง เนย 


การประเมินผล ( Evaluation )

 ประเมินตนเอง (Self) = สนใจที่เพื่อนๆนำเสนอ และร่วมทำกิจกรรมในห้องเรียน มีส่วนร่วนในกิจกรรมช่วยเพื่อนเก็บของ

ประเมินเพื่อน (Friend) = เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา และตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนอ และร่วมแสดงความคิดเห็นและซักถาม เรื่องที่ไม่เข้าใจ มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินครูผู้สอน (Teacher)= อาจารย์แนะนำการเขียนแผนการสอนโดยละเอียดมาก ช่วยให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น และนำกิจกรรมมาให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง สนุกสนานมากเลยค่ะ



วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


บันทึกอนุทินครั้งที่ 14


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ประจำวิชา อาจารย์จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2557

กลุ่มเรียน 102



 ความรู้ที่ได้รับ (The knowledge gained)


สำหรับวันนี้เป็นการนำเสนอแผนการสอนต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งมีหน่วยดังนี้


หน่วยที่ 7.นกหงส์หยก (jade bird)

สำหรับกลุ่มนี้ นำเสนอเกี่ยวกับลักษณะของนกหงส์หยก โดยมีภาพนกหงส์หยก 
สายพันธ์ คือ พันธ์เยอรมัน กับ พันธ์สตีโน นำมาให้เด็กได้สังเกตลักษณะต่างๆ
และนำมาบันทึกเพื่อเปรียบเทียบหาความสัมพันธ์ความเหมือน ความต่าง






หน่วยที่ 8.สับปะรด (pine apple)

สำหรับกลุ่มนี้ นำเสนอเกี่ยวกับประโยชน์และข้อควรระวังของสับปะรด
นำเข้าสู่บทเรียนด้วยนิทาน เรีื่อง น้องหนูนากับสับปะรด และยังเชื่อมโยงเนื้อหา

ของนิทานให้มีทั้งประโยชน์และข้อควรระวัง อีกด้วย สนุกสนานและน่าสนใจค่ะ

            

หน่วยที่ 9.ส้ม (Orange) 

สำหรับกลุ่มนี้ นำเสนอเกี่ยวกับประโยชน์จากการแปรรูป โดยเริ่มเข้าสู่
เนื้อหาโดยการท่องบทคล้องจอง และมีการนำผลผลิตที่ได้จากการแปรรูป
ของส้มมาให้ดู ได้แก่ สเปรย์กลิ่นส้ม พร้อมกับบอกข้อควรระวังอีกด้วย




  จากนั้นก็เป็นการนำเสนอวิจัย(Research)และโทรทัศน์ครู(Teachers TV)
ได้แก่...


1. เรื่อง นม+สี+น้ำยาล้างจานสำหรับเด็กอนุบาล

โดย นางสาวกมลชนก  หยงสตาร์






2.เรื่องสร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส
โดย นางสาว จุทาภรณ์  แก่นแก้ว




3.เรื่องกระบวนการพัฒนาวิทยาศาสตร์พื้นฐานส่งเสริมศิลปะสร้างสรรค์
โดย นางสาวรัตติพร  ยังชัย




4.เรื่อง ผลการเรียนรู้ทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐาน
ทางวิทยาศาตร์เด็กปฐมวัย
โดย นางสาวอนุสรา  แก้วชู




5.กิจกรรมวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย เรื่องหนังสือลอยได้
โดย นางสาวรัชดาภรณ์  มณีศรี




6.เรื่อง ดินน้ำมันลอยได้อย่างไร
โดย นางสาวน้ำผึ้ง   สุขประเสริฐ  





ต่อมาเป็นการทำกิจกรรมในห้องเรียน "ไข่เทอริยากิ"

อุปกรณ์

 1.ไข่ไก่ (Egg)      
 2.ข้าวสวย (Rice)        
 3.แครอทcarrot 
 4.หอม leek)         
 5.ปูอัด (a crab compresses)        
 6.ซอสปรุงรส (Sauces)      
 7.เนย (better)
 8.เครื่องทำเทอริยากิ




ขั้นตอนการทำ

1.ตีไข่ใส่ชาม   
2.ตักไข่ใส่ในถ้วยเล็กๆ  
3.นำส่วนผสมต่างๆใส่ลงไปในไข่ในอัตราส่วนที่พอดี       
4.นำเนยใส่ในหลุมกระทะ         
5.คนส่วนผสมให้เข้ากันจากนั้นนำไปเทลงในเครื่องทำเทอริยากิที่เตรียมไว้



























การนำไปใช้ (Application)

  สำหรับความรู้ที่ได้รับวันนี้ สามารถนำเทคนิควิธีการสอนของแต่ละกลุ่มไปปรับประยุกต์ใช้ได้ในอนาคต และนำข้อแนะนำที่อาจารย์บอกกล่าวไปปรับปรุงในการเขียนแผน การสอบสอนในรายวิชาอื่นได้ และจากที่เพื่อนนำเสนอทังวิจัย และโทรทัศน์ครูมีประโยชน์อย่างมาก สามารถนำแนวทางและตัวอย่างวิธีการทดลองต่างๆไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้จริง และจากกิจกรรมในห้องเรียน"ไข่เทอริยากิ" สนุกสนานอย่างมาก ได้ลงมือปฏิบัติจริงได้หั่นผัก และผสมเครื่องปรุงและส่วนประกอบต่างๆแล้วนำไปเทในเครื่องทำเทอริยากิ เป็นการฝึกการสังเกตการเปลี่ยนแปลง เมื่อไข่ถูกความร้อนว่าเป็นอย่างไรบ้าง เชื่อมโยงเข้ากับวิทยาศาสตร์ได้อย่างดี และสามารถนำกิจกรรมนี้ไปจัดให้กับเด็กปฐมวัยได้จริงๆ

การประเมินผล ( Evaluation )

 ประเมินตนเอง (Self) = สนใจที่เพื่อนๆนำเสนอ และร่วมทำกจกรรมในห้องเรียน ช่วยเพื่อนเก็บของ และช่วยเพื่อนทำไข่เทริยากิ

ประเมินเพื่อน (Friend) = เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา และตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนอ และร่วมแสดงความคิดเห็นและซักถาม เรื่องที่ไม่เข้าใจ มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

ประเมินครูผู้สอน (Teacher)= อาจารย์แนะนำการเขียนแผนการสอนโดยละเอียดมาก ช่วยให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น และนำกิจกรรมมาให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง สนุกสนานมากเลยค่ะ



สรุป 




เรื่อง เสียงและการได้ยิน

โรงเรียนวัดบ้านแหลม

ครู ปิยะพร ศรีพลาวงษ์

เสียงเป็นส่วนหนึ่งที่คนใช้ในชีวิตประจำวัน มนุษย์รู้จักและคุ้นเคยกับเสียงเป็นอย่างดี อันมีเสียงมาจากเช่น เสียงลม เสีงฟ้าผ่า เสียงฟ้าร้อง หรือเสียงที่มนุาย์ประดิษฐ์ขึ้นมาใช้ ได้แก่ เสียงจากยานพาหนะ เครื่องจักรกล เสียงดนตรี เป็นต้น

-ขั้นตอนการสอน

การสอนของครูปิยะพร เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อฝึกให้นักเรียน ได้มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ดีเป็นอย่างมาก คือ มีการสอนให้นักเรียนได้ฝึกการคิด การตั้งปัญหา การใช้เหตุผล โดยให้นักเรียนฝึกตอบคำถาม ซึ่งมีการนำสิ่งใกล้ตัวมาศึกษา หรือทดลอง เช่นการแสดงออกของคนรอบข้าง ซึ่งให้นักเรียนได้ติดตามผลว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง

-สิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้

เด็กได้ประสบการณ์เกี่ยวกับทักษะทางวิทยาศาสตร์ ได้ทดลองและรูจักคิด แสวงหาความรู้ ซึ่งสามารถนำความรู้ที่ได้รับนั้นไปปรับประยุกต์ใช้ได้จริงได้ในชีวิตประจำวัน เช่นการประดิษฐ์เครื่องดนตรีอย่างง่าย และสามารถเชื่อมโยงเข้ากับวิทยาศาสตร์ของเสียงและการได้ยินอีกด้วย

-สิ่งที่เด็กได้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ได้ทักษะการสังเกต
ได้ทักษะการทดลอง การตั้งคำถาม
ได้ลงมือปฏิบัติจริง

สรุป


เรื่อง อากาศ (air)



วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ประจำวิชา อาจารย์จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2557

กลุ่มเรียน 102



 ความรู้ที่ได้รับ (The knowledge gained)

สำหรับวันนี้เป็นการนำเสนอแผนการสอนของกลุ่มต่างๆ ซึ่งมีหน่วยดังนี้


1.หน่วย ผลไม้ (fruit)

สำหรับกลุ่มนี้ นำเสนอแผนการสอนเกี่ยวกับชนิด
ของผลไม้ โดยมีการเชื่อมโยงบูรณาการกับคณิตศาสตร์
คือการนับจำนวน 


2.หน่วยแตงโม (watermelon)

สำหรับกลุ่มนัี้ นำเสนอแผนการสอนเกี่ยวกับ
การประกอบอาหาร คือนำแตงโมไปปั่นเป็นน้ำแตงโม

เพื่อนๆในห้องได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมด้วย 

สนุกสนาน และได้ชิมน้ำแตงโมปั่น อร่อยมากค่ะ


3.หน่วยข้าวโพด (corn)

สำหรับกลุ่มนี้ นำเสนอเกี่ยวกับประโยช์และข้อควรระวัง
ของข้าวโพด มีการเล่านิทานเรื่องเจ้าหมูจอมตะกละโดย
ในเนื้อหานิทานมีการสอดแทรกเชื่อมโยงเข้ากับประโยชน์
และข้อควรระวังของข้าวโพดอีกด้วย น่าสนใจมากค่ะ


4.หน่วยกล้วย (banana)

    สำหรับกลุ่มนี้ นำเสนอเกี่ยวกับประโยชน์และข้อควร
ระวังของกล้วย ซึ่งมีหลักวิธีการสอนเหมือนกับกลุ่ม
ข้าวโพดอาจารย์จึงมีการแนะนำ และเพิ่มเติมส่วนต่างๆเล็กน้อย


5.หน่วยช้าง (elephant)

สำหรับกลุ่มนี้ นำเสนอเกี่ยวกับชนิดของช้าง 
ซึ่งมีวิธีการสอนเหมือนกับกลุ่มผลไม้มีการบูรณาการ
เชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์คือการนับจำนวน


6.หน่วยผีเสื้อ (butterfly)

   สำหรับกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มของดิฉันเองค่ะ ได้นำเสนอ
   เกี่ยวกับลักษณะของผีเสื้อ โดยเข้าสู่เนื้อหาโดย
ปริศนาคำทาย จากนั้นก็นำภาพผีเสื้อ2ชนิดมาให้เด็กๆ
สังเกตและบันทึกลงตารางกราฟ จากนั้นก็ให้เด็กช่วยกัน
หาความสัมพันธ์ความเหมือนความต่าง

  


การนำไปใช้ (Application)

  สำหรับความรู้ที่ได้รับวันนี้ คือการนำเสนอแผนการสอนของหน่วยต่างๆ ซึ่งสามารถนำความรู้และเทคนิคการสอนของกลุ่มต่างๆไปปรับประยุกต์ใช้ได้ในการสอนครั้งต่อไป และนำความรู้ที่อาจารย์แนะนำไปเป็นแนวทาง แก้ไขการเขียนแผนการสอนให้ดีขึ้น

การประเมินผล ( Evaluation )

 ประเมินตนเอง (Self) = ตั้งใจนำเสนอแผนการสอน แม้ว่าจะต้องแก้ไขวิธีการสอนก็จะพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้นค่ะ

ประเมินเพื่อน (Friend) = เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา และตั้งใจฟังเพื่อนๆแต่ละกลุ่มนำเสนอ มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในห้องเรียนเป็นอย่างดี

ประเมินครูผู้สอน (Teacher) = อาจารย์แนะนำวิธีการสอน เทคนิคการสอนที่ถูกต้องให้นักศึกษาไปปรับปรุงให้ดีขึ้น ได้ประโยชน์เป็นอย่างมากค่ะ


บันทึกอนุทินครั้งที่ 12


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ประจำวิชา อาจารย์จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2557

กลุ่มเรียน 102



ความรู้ที่ได้รับ (The knowledge gained)

   สำหรับวันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับวิธีการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ ซึ่งอาจารย์ก็สอนเกี่ยวกับรายละเอีอดที่ถูกต้องของแผนการสอน นักศึกษาบางคนก็มีที่ยังสงสัยว่าต้องเขียนอย่างไร อาจารย์จึงให้ตัวอย่างแผนการสอนของรุ่นพี่มาให้ศึกษา 
   กลุ่มของดิฉันก็ได้จัดทำเขียนแผนการสอนเกี่ยวกับ หน่วย ผีเสื้อ ค่ะ






การนำไปใช้ (Application)

  สำหรับความรู้ที่ได้รับวันนี้ สามารถนำไปปรับใช้ในการเขียนแผนให้ดีและถูกต้องมากยิ่งขึ้น และคำนึงถึงพัฒนาการและความเหมาะสมของเด็กปฐมวัย


การประเมินผล ( Evaluation )

 ประเมินตนเอง (Self) = เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอนเกี่ยวกับวิธีการเขียนแผนในหัวข้อต่างๆ

ประเมินเพื่อน (Friend) = เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา และตั้งใจฟังอาจารย์ และร่วมแสดงความคิดเห็นและซักถาม เรื่องที่ไม่เข้าใจ


ประเมินครูผู้สอน (Teacher)= อาจารย์แนะนำการเขียนแผนการสอนโดยละเอียดมาก ช่วยให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น



วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ประจำวิชา อาจารย์จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 28 ตุลาคม 2557

กลุ่มเรียน 102


ความรู้ที่ได้รับ (The knowledge gained)

 สำหรับวันนี้ อาจารย์ให้ทำกิจกรรมในห้องเรียน มีดังนี้

กิจกรรมที่ 1. ดอกไม้บาน




  สำหรับการทดลองนี้ ดอกไม้เมื่อนำไปลอยในน้ำจะบานขึ้นเรื่อยๆเพราะว่า น้ำจะแทรกซึมเข้าไปอยู่บริเวณที่ว่างภายในของกระดาษ และจะเกิดความหนาแน่นขึ้นซึ่งทำให้ดอกไม้ค่อยๆบานนั่นเอง



กิจกรรมที่ 2.กรอกน้ำใส่ขวด





   สำหรับการทดลองนี้ เจาะรูที่ท้ายขวดน้ำแล้วกรอกน้ำใส่ขวดนั้นซึ่งผลปรากฎว่า น้ำจะไหลออกจากขวดอย่างเร็ว แต่เมื่อเราปิดฝาขวดผลปรากฎว่า น้ำจะไหลออกจากขวดอย่างช้าๆ ซึ่งเกิดจากไม่มีอากาศอยู่ในขวดเมื่อเราปิดฝานั่นเอง



กิจกรรมที่ 3.ขวดน้ำต่างระดับ





   สำหรับการทดลองนี้คือ นำขวดน้ำมาเจาะรู 3 รูให้ระดับต่างกัน แล้วปิดรูที่เจาะนั้นด้วยแล็กซีนพื่อจะดูความแตกต่างการไหลของน้ำ จากนั้นกรอกน้ำใส่ขวดทำการทดลอง ดังนี้
1.เปิดแล็กซีนออกโดยเริ่มจากด้านบนก่อน พบว่าเมื่อเปิดออกแล้ว น้ำไหลออกอย่างช้าๆ 
2.ต่อมาเมื่อเปิดตรงกลางออก พบว่า น้ำก็ยังไหลออกอย่างช้าๆเหมือนเดิม
3.เมื่อเปิดข้างล่างสุดออก พบว่า น้ำไหลออกโดยเร็ว ก็เพราะว่าแรงดันของน้ำนั้นจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเสมอ จึงทำให้รูข้างล่างสุดน้ำไหลออกจากขวดอย่าง เร็วนั่นเอง



กิจกรรมที่ 4. น้ำไหลจากสายยาง




   สำหรับการทดลองนี้คือ เมื่อกรอกน้ำใส่ขวด แล้วนำสายยางใส่ลงไปในขวด น้ำก็จะไหลออกมาจาสายยาง ถ้าเรายกสายยางขึ้นสูงกว่าขวดน้ำ น้ำก็จะไหลออกอย่างช้าๆ แต่เมื่อเราให้สายยางอยู่ต่ำๆน้ำก็จะไหลออกโดยเร็ว เพราะน้ำจะมีแรงดันสูง ซึ่งน้ำจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำอยู่เสมอ



กิจกรรมที่ 5. ดินน้ำมันลอยน้ำ




   สำหรับกิจกรรมนี้คือ อาจารย์แจกดินน้ำมันให้นักศึกษาแบ่งกัน แล้วให้ปั้นเป็นก้อนวงกลม เพื่อออกไปทดลอง ลอยน้ำดูว่าจะเป็นอย่างไร ผลปรากฏว่าเมื่อหย่อนลงในน้ำดินน้ำมันก็จมทันที





   จากนั้นอาจารย์จึงให้คิดหาวิธี ที่จะทำให้ดินน้ำมันสามารถลอยน้ำได้ เพื่อนแต่ละคนก็ใช้วิธีที่แตกต่างกัน ซึ่งดิฉันก็ปั้นคล้ายๆกับเรือ คือปั้นดินน้ำมันให้แบนๆทำให้มีขอบขึ้นมา เพื่อที่จะให้ลอยน้ำได้ ผลปรากฏว่าเมื่อนำไปหย่อนลงในน้ำสามารถลอยได้จริงๆ
   
   สาเหตุที่ดินน้ำมันลอยน้ำได้เพราะว่า เกิดจากรูปทรงที่เราปั้น ความลึกและความหนาแน่น ถ้าดินน้ำมันมีความหนาแน่นมากก็จะทำให้จมน้ำ แต่ถ้าดินน้ำมันมีความหนาแน่นน้อยก็จะทำให้ลอยน้ำได้ นั่นเอง




กิจกรรมที่ 6. ดับไฟจากแก้ว





   สำหรับการทดลองนี้คือ เมื่อเราจุดเทียนแล้วทำให้ไฟลุกขึ้นเพราะมีอากาศออกซิเจน เมื่อไรเอาแก้วไปครอบก็ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้ามาแทนที่ จึงทำให้ไฟดับลง



กิจกรรมที่ 7. เรือดำน้ำ





   สำหรับการทดลองนี้คือ ถ้าใช้สบู่ที่ใช้แล้วจะทำให้เรือแล่นได้เพราะฟองสบู่แผ่กระจายจึงทำให้แล่นได้ แต่ถ้าสบู่ใหม่เรือจะไม่แล่นเพราะไม่มีฟองออกมา





การนำไปใช้ (Application)

  สำหรับความรู้ที่ได้รับวันนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ คือนำไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยได้เพราะ นอกจากเด็กจะได้ความสนุกสนานในการเล่นแล้ว ยังได้ความรู้ที่สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่วิทยาศาสตร์อีกด้วย


การประเมินผล ( Evaluation )

 ประเมินตนเอง (Self) = เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังสิ่งที่เพื่อนๆนำเสนอ และร่วมทำกิจกรรมภายในห้องเรียนอย่างสนุกสนาน

ประเมินเพื่อน (Friend) = เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา และตั้งใจฟังการนำเสนอของเพื่อนๆคนอื่นอย่างดี มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม และแสดงความคิดเห็นต่างๆ

ประเมินครูผู้สอน (Teacher)= อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ดี มีการใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการใช้ความคิดสร้างสรรค์



วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ประจำวิชา อาจารย์จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 21 ตุลาคม 2557

กลุ่มเรียน 102


ความรู้ที่ได้รับ (The knowledge gained)

  สำหรับวันนี้เป็นการนำเสนอสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งบอกชื่อ วิธีทำ วิธีเล่น และสามารถเชื่อมโยงให้เด็กได้ความรับความรู้อย่างไรเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์บ้าง ดิฉันเองก็ได้นำเสนอสื่อชื่อว่า ปืนยิงกระสุน จากไม้ไอศกรีม





















จากนั้นอาจารย์ก็ให้ทำกิจกรรมในห้องเรียน โดยทำสิ่งประดิษฐ์ของเล่นจากแกนทิชชู





อุปกรณ์ 

1.แกนกระดาษทิชชู (Axle)
2.กาว (Glue)
3.กรรไกร (Scissors)
4.สีเมจิก (Color)
5.ที่เจาะกระดาษ (Color)
6.กระดาษสี (Colored paper)
7.ไหมพรม (Knitting wool)


วิธีการทำ (Procedures)

1.ตัดแกนทิชชูออกเป็น 2 ส่วน
2.เลือกแกนทิชชูมา 1 ส่วน แล้วนำที่เจาะรูมาเจาะ ทั้งสองด้าน
3.ใช้ไหมพรมใส่เข้าไปตรงรูที่เจาะ ผูกปมไหมพรมให้คล้องคอได้ยาวพอประมาณ
4.วาดรูปใส่กระดาษสี ทากาวเพื่อนำมาติดกับแกนทิชชู่พร้อมตกแต่งให้สวยงาม

วิธีการเล่น (How to play)

1.นำไหมพรมคล้องคอ
2.ใช้มือนทั้งสองข้างดึงไหมพรมที่อยู้ข้างล่างของแกนทิชชู
3.ขยับมือซ้ายขวาไปมาเพื่อดึงแกนทิชชูซึ่งจะค่อยๆเลื่อนขึ้นข้างบน



การนำไปใช้ (Application)

  สำหรับความรู้ที่ได้รับวันนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ คือนำไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยได้เพราะ นอกจากเด็กจะได้ความสนุกสนานในการเล่นแล้ว ยังได้ความรู้ที่สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่วิทยาศาสตร์อีกด้วย


การประเมินผล ( Evaluation )

 ประเมินตนเอง (Self) = เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังสิ่งที่เพื่อนๆนำเสนอ และร่วมทำกิจกรรมภายในห้องเรียนอย่างสนุกสนาน

ประเมินเพื่อน (Friend) = เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา และตั้งใจฟังการนำเสนอของเพื่อนๆคนอื่นอย่างดี มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม และแสดงความคิดเห็นต่างๆ


ประเมินครูผู้สอน (Teacher) = อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ดี มีการใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการใช้ความคิดสร้างสรรค์



วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ประจำวิชา อาจารย์จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 14 ตุลาคม 2557

กลุ่มเรียน 102


ความรู้ที่ได้รับ (The knowledge gained)

  สำหรับวันนี้เพื่อนๆเกือบทุกคน ยังไม่ได้นำ Science Toys มานำเสนอ อาจารย์จึงให้นักศึกษาบางคนที่นำมาแล้ว หรือที่ได้คิดว่าจะทำเกี่ยวกับอะไร ออกมานำเสนอให้เพื่อนๆฟังหน้าชั้นเรียน และบอกว่าเด็กได้อะไรเกี่ยวกับ Science บ้าง อย่างเช่น ไหมพรหมเริงระบำ ปืนลูกโป่ง แก้วส่งเสียง เป็นต้น  อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนะ เพิ่มเติมว่าควรแก้ไข ปรับปรุงอย่างไร เพื่อที่จะให้เด็กได้สามารถประดิษฐ์ได้เองและได้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเพื่อนๆหลายคนก็มีแนวคิด มีหลักการที่ดีและน่าสนใจอย่างยิ่ง และดิฉันเองนั้นยังไม่ได้เตรียมมา แต่ก็ได้ดู และสังเกตการนำเสนอของเพื่อนๆ การแนะนำจากอาจารย์ก็จะนำปฏิบัติเพื่อประดิษฐ์ของเล่นออกมาให้ดีที่สุด และนำมาส่งใน Week ถัดไปค่ะ


การนำไปใช้ (Application)

  สำหรับความรู้ที่ได้รับในวันนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้เกี่ยวกับเทคนิควิธีการทำสิ่งประดิษฐ์ของเล่นง่ายๆ สำหรับเด็กปฐมวัยได้ซึ่งนอกจากจะได้ความสนุกสนานแล้ว ยังได้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เข้ามาเชื่อมโยงอีกด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีและเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะนำไปจัดกิจกรรมให้แก่เด็กปฐมวัย

การประเมินผล ( Evaluation )

 ประเมินตนเอง (Self) = เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังสิ่งที่เพื่อนๆนำเสนอ และรับฟังข้อแนะนำจากอาจารย์เพื่อนำไปพัฒนาการประดิษฐ์สื่อตนเองให้ดีขึ้น

ประเมินเพื่อน (Friend) = เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา และตั้งใจฟังการนำเสนอของเพื่อนๆคนอื่นอย่างดี

ประเมินครูผู้สอน (Teacher) = อาจารย์ให้คำแนะนำที่ดี เพื่อให้นักศึกษานำไปพัฒนาให้ดีขึ้น


สิ่งประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์


"ปืนยิงกระสุน จากไม้หนีบผ้า"

อุปกรณ์ มีดังนี้

1.กระดาษแข็ง
2.ไม้หนีบผ้า
3.ไม้ตะเกียบ
4.ไม้ไอศกรีม
5.ฝาน้ำ
7.กาว
6.ลูกกระสุน

วิธีทำ

1.ตัดกระดาษแข็งเป็นรูปสี่เหลี่ยม เพื่อทำเป็นฐาน
2.นำไม้หนีบผ้า มาทากาวแล้วติดลงที่กระดาษแข็ง
3.ตัดไม้ตะเกียบ เป็นท่อนเล็กๆเพื่อทำคาน ติดระหว่างไม้หนีบผ้ากับไม้ไอศกรีมให้แน่นๆ
4.นำฝาน้ำมาติดตรงไม้ไอศกรีมด้านบน

วิธีเล่น

นำลูกกระสุนไปใส่ไว้ตรงฝา แล้วบีบตรงไม้หนีบผ้าเพื่อให้ลูกกระสุนเกิดการเหวี่ยงตัวกระเด็นไปข้างหน้า


  ปืนยิงกระสุน ทำจากไม้หนีบผ้า มีหลักการในการทำงานเป็นคานงัด ซึ่งเป็นเครื่องกลชนิดหนึ่งที่ใช้ดีด-งัดวัดถุให้เคลื่อนที่รอบจุดหมุน มีลักษณะแข็งเป็นแท่งยาว เช่น ท่อนไม้ หรือโลหะยาว คานจะโค้งงอหรือตรงก็ได้ ซึ่งจะใช้หลักการของโมเมนต์

  หลักการที่สำคัญของเล่นชิ้นนี้คือ ใช้พลังงานศักย์ยืดหยุ่น (Elastic Potential Energy) เป็นพลังงานศักย์ที่สะสมในวัตถุที่ติดกับสปริงที่ถูกทำให้ยืดออก หรือ หดเข้า จากตำแหน่งสมดุล แรงที่กระทำต่อสปริงมีค่าไม่คงที่ แต่จะมีค่าเพิ่มขึ้นจากศูนย์